มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม มพส

ข่าวสารและกิจกรรม

ข่าวทั่วไป

บทความ

ข่าวทั่วไป

กกพ.เลื่อนรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์เซลล์จากกลุ่มสหกรณ์ 800 MW

      กกพ.จ่อ เปิดรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์เซลล์จากสหกรณ์การเกษตร-หน่วยงานราชการรวม 800 เมกะวัตต์ ต้นปี 2558 ชี้ขอศึกษากรณีต้องเข้าข่ายระเบียบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตในไทยหรือไม่ เหตุโซลาร์เซลล์นำเข้าต้นทุนต่ำกว่าของไทย แถมกำลังการผลิตไทยอาจไม่พอรองรับ มีข้อบังคับต้องผลิตไฟเข้าระบบได้ทันภายใน ธ.ค. 58

      นายวีระพล จิรประดิษฐกุล คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงความคืบหน้าโครงการเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากสหกรณ์การเกษตร และหน่วยงานราชการรวม 800 เมกะวัตต์ว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ดำเนินการเปิดรับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชนไปแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินความเห็นต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงในรายละเอียดก่อนที่จะมีการประกาศหลักเกณฑ์รับซื้อไฟฟ้าใน ราชกิจจานุเบกษาต่อไป ทั้งนี้คาดว่าจะเปิดรับซื้อได้ในช่วงต้นปี 2558

      การ เปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จากโครงการดังกล่าวถือว่าล่าช้ากว่า แผนเดิมที่จะเปิดรับซื้อในเดือนธันวาคม 2557 เนื่องจากภาคเอกชนมีข้อกังวลที่อาจจะต้องศึกษารายละเอียดเชิงกฎหมายเพิ่ม เติม คือ โครงการดังกล่าวเข้าข่ายระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ที่กำหนดให้ซื้อแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตได้ในประเทศก่อนหรือไม่ เพราะในมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ไม่ได้ระบุไว้ รวมถึงความเห็นของภาคเอกชนรายอื่นระบุว่า ควรเปิดกว้างในการเลือกซื้อแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำ แต่มีคุณภาพมากกว่า

      "ตอนนี้ให้ฝ่ายกฎหมายศึกษาเพิ่มอยู่ว่าในกรณีนี้ จะต้องดำเนินการอย่างไร หากต้องระบุชัดเจนในหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าว่า จะต้องจัดซื้อแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศ จะต้องนำเข้าที่ประชุม กพช.เพื่อออกเป็นมติเห็นชอบก่อน เพราะที่ผ่านมาหลักเกณฑ์การรับซื้อจะถูกเขียนไว้กว้าง ๆ แค่ครอบคลุมในประเด็นคุณภาพ สเป็กของโซลาร์เซลล์ การเชื่อมโยงสายส่งเท่านั้น"

      นายวีระพลกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อประเมินศักยภาพของผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศไทย สามารถรองรับการผลิตได้เพียง 50 เมกะวัตต์เท่านั้น ในขณะที่ตามแผนรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการนี้ต้องการกำลังผลิตรวม 800 เมกะวัตต์ ที่สำคัญต้องเข้าระบบภายในเดือนธันวาคม 2558 รวมถึงเมื่อเทียบต้นทุนระหว่างแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตในไทยกับการนำเข้าแล้ว พบว่าการนำเข้ามีราคาถูกกว่า ฉะนั้นเบื้องต้นจึงมองว่า ควรที่จะเปิดกว้างให้ผู้ที่สนใจยื่นขอผลิตไฟฟ้าสามารถเลือกได้ว่าจะซื้อแผง โซลาร์เซลล์ในประเทศไทยหรือไม่

      สำหรับผู้ที่สนใจยื่นขอผลิตไฟฟ้าใน โครงการดังกล่าว สามารถยื่นเอกสารได้ทันทีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) จากเดิมที่ให้ยื่นไปที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทั้งนี้ กกพ.จะเป็นผู้ตรวจสอบความเหมาะสมของโครงการ ส่วนขั้นตอนการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจะเป็นหน้าที่ของกฟผ.และ กฟภ.ดำเนินการต่อ

      อนึ่ง ก่อนหน้านี้ได้มีกลุ่มผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศได้ยื่นหนังสือต่อ กระทรวงการคลังเพื่อให้ตีความว่า โครงการดังกล่าวเข้าข่ายต้องอยู่ภายใต้ระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ ที่ต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตในประเทศก่อนเป็นอันดับแรกหรือไม่ และกระทรวงการคลังระบุชัดว่าเข้าข่ายระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐล่าสุด บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) ในฐานะตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศไทย ชี้แจงว่า หาก กกพ.ไม่ระบุเงื่อนไขว่า ต้องซื้อแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศ จะดำเนินการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางแน่นอน

25 ธันวาคม 2557

http://www.prachachat.net


Copyright © 2011 Energy For Environment Foundation. All right reserved.
812/66 ซอยประชาชื่น 26 ถนนประชาชื่น แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
โทรศัพท์ +66 2115 5895  E-mail : jutamas.efe@gmail.com