มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม มพส

Current Project

Previous Project

Activities News

Articles and Publication

Donation

Umphang Project

Renewable Energy Project in Mae Hong Sorn

Articles and Publication

กลไกพลังงานสีเขียวในประเทศไทย
โดย ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ (ประธานที่ปรึกษามูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม)

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้มีโอกาสพาคณะของบริษัทไทยออยล์จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง"กลไกพลังงานสีเขียว" ที่ดำเนินการโดยมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ไปเยี่ยมชมและทำพิธีมอบเตานึ่งใบ เมี่ยงประสิทธิภาพสูงที่บ้านป่าเหมี้ยง รวมทั้งไปดูความก้าวหน้าของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วที่เชียงใหม่

หมู่บ้านป่าเหมี้ยง ตั้งอยู่ ณ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ลักษณะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขาสูง ห่างจากตัวเมืองลำปางกว่า 70 กิโลเมตร มีชาวบ้านอยู่อาศัยรวม 132 ครัวเรือน โดยทั้งหมดจะประกอบอาชีพทำ เมี่ยงเป็นหลัก ชื่อบ้านป่าเหมี้ยงอาจเป็นที่คุ้นหูและคุ้นตาของหลายคน จากข่าวทางโทรทัศน์และหน้า หนังสือพิมพ์เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่วัวของชาวบ้านถูกเสือกัดตาย 13 ตัว และสูญหายไปอีก 7 ตัว มูลนิธิฯ ได้เข้าไปที่บ้านป่าเหมี้ยงเพราะคุณหมอวงศ์กุลพัทธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ซึ่งไปทำโครงการ CSR ของ บริษัท CS Loxinfo ขอให้เข้าไปช่วยดูปัญหาไฟฟ้าในหมู่บ้าน แต่สิ่งที่ไปพบและน่าสนใจมากก็คือมีการใช้ไม้ ฟืนจำนวนมากเป็นเชื้อเพลิงในการนึ่งใบเมี่ยงอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้สิ้นเปลืองมาก

การประกอบอาชีพทำเมี่ยงของชาวป่าเหมี้ยงนั้น โดยปกติชาวบ้านจะทำเมี่ยงเป็นระยะเวลา 8 เดือน และอีก 4 เดือนเป็นช่วงเวลาในการหาฟืนสำหรับนึ่งเมี่ยง การทำเมี่ยงนั้นต้องนำใบเมี่ยง (ใบอ่อนของ ต้นชา) ไปผ่านกระบวนการนึ่ง โดยเตานึ่งใบเมี่ยงดั้งเดิมของชาวบ้านนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ กล่าวคือการนึ่ง เมี่ยง 25 กิโลกรัมต้องใช้ฟืนถึง 20-25 กิโลกรัม และยังเกิดควันจากการเผาไหม้ฟืนเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผล กระทบต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้าน นอกจากนี้ การขยายตัวของประชากรในชุมชนป่าเหมี้ยงยังส่งผลให้ ความต้องการใช้ไม้สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นและเกิดปัญหาการบุกรุกป่าเพื่อนำไม้มาเป็นเชื้อเพลิง

แผน Corporate Social Responsibility (CSR) ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ให้ ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนและการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ให้กับท้องถิ่นทุรกันดาร จึงได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นจำนวน 1 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการภายใต้กลไกพลังงานสีเขียว (Green Energy Mechanism) โดยได้เลือกโครงการ ปรับปรุงประสิทธิภาพเตานึ่งเมี่ยงเป็นโครงการนำร่องตามแผน CSR ของบริษัทฯ รวมถึงโครงการไฟฟ้าพลัง น้ำขนาดจิ๋วที่บ้านเปียน จ.เชียงใหม่ ซึ่งพนักงานของบริษัทฯ ได้มีส่วนร่วมในในการพัฒนาโครงการด้วย

ในการออกแบบเตานึ่งใบเมี่ยงประสิทธิภาพสูง มูลนิธิฯ ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงาน (สนพ.) ซึ่งได้ให้ทีมของอาจารย์ชัชวาลย์ ชัยชนะ แห่งสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ดำเนินการคิดค้นเตานึ่งเมี่ยงยุคใหม่ประหยัดพลังงาน รวมถึงการนำไปเผยแพร่ ฝึกอบรมการก่อสร้างให้แก่ชาวบ้าน ซึ่งโครงการนี้ยังได้รับความร่วมมือจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ในการประสานงานด้านชุมชน และ การสนับสนุนปูนซิเมนต์สำหรับการติดตั้งเตาอีกด้วย ปัจจุบัน บริษัท ไทยออยล์ฯ ได้ให้การสนับสนุนเตานึ่งเมี่ยงซึ่งได้ดำเนินการติดตั้งไปแล้ว 55 เตา สำหรับ 55 หลังคาเรือน โดยคุณสมชัย วงศ์วัฒนศานต์ ผู้ช่วยกรรมการอำนวยการด้านบริหารองค์กรของ บริษัท ไทยออยล์ฯ ได้ส่งมอบเตานึ่งเมี่ยงให้แก่ชาวบ้านไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้มีเป้าหมายติดตั้งรวม ทั้งสิ้น 81 เตา ผลการดำเนินการปรากฏว่าดีมาก คือช่วยลดการใช้ฟืนลงได้ถึง 60-65% ทั้งนี้เพราะเตานึ่ง เมี่ยงประสิทธิภาพสูงได้รับการพัฒนาโดยเพิ่มพื้นที่ผิวในการถ่ายเทความร้อนเพิ่มขึ้น 4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบ 2 กับเตาดั้งเดิม และติดตั้งฉนวนเพื่อลดการสูญเสียความร้อนของเตา ดังนั้นหากมีการติดตั้งเตาเรียบร้อยแล้วทั้ง 81 เตา ก็จะสามารถลดการใช้ไม้ฟืนได้ถึงปีละ 240 ตัน นอกจากนั้นเตาประสิทธิภาพสูงยังช่วยลดระยะเวลาใน การนึ่งเมี่ยงอีกด้วย กล่าวคือ เตาประสิทธิภาพสูงทำให้น้ำเดือดเร็วขึ้น โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาทีตั้งแต่เริ่ม จุดเตาจนน้ำเริ่มเดือด เดิมใช้เวลา 40-45 นาที ส่วนระยะเวลาในการนึ่งเมี่ยงก็ลดลงจาก 80-90 นาทีเหลือ 60 นาที ส่วนต้นทุนนั้นอยู่ในระดับ 8,200 บาทต่อเตา มีระยะเวลาคืนทุนไม่ถึง 2 ปี แต่ "กลไกพลังงานสีเขียว" ออกค่าใช้จ่ายให้ส่วนใหญ่ ระยะเวลาคืนทุนของชาวบ้านจึงสั้นกว่ามาก แต่เนื่องจากเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเตา ประสิทธิภาพสูงสามารถช่วยลดการใช้ฟืนได้จริง ในระยะต่อไปชาวบ้านคงต้องออกค่าใช่จ่ายในสัดส่วนที่สูงขึ้น เพื่อให้การเผยแพร่เตามีความยั่งยืน

บ้านป่าเหมี้ยงเป็นหมู่บ้านที่น่าสนใจ จากสถานที่และทิวทัศน์ที่สวยงาม ในปัจจุบันจึงเริ่มมี นักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมและพักกันมากขึ้น และได้เกิดธุรกิจโฮมเสตย์ขึ้น นอกจากนั้น บ้านป่าเหมี้ยงยังมี ศักยภาพในการพัฒนาพลังน้ำได้อีกด้วย โดยมีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กมากที่สร้างมานานแล้ว แต่ปัจจุบัน ไม่ได้ใช้งานเต็มที่เพราะถูกละเลยมาเป็นเวลานาน หลังจากระบบไฟฟ้าของของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้าไปถึง แล้ว อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในการอำนวยความสะดวกที่เพิ่มขึ้นของชาวบ้าน ได้ทำให้คุณภาพไฟฟ้าที่ผลิตจาก พลังน้ำขนาดจิ๋วมีปัญหาในช่วงที่มีการใช้ไฟมากสำหรับชาวบ้านที่ใช้ไฟฟ้าพลังน้ำ ในขณะนี้มูลนิธิฯ กำลัง ศึกษาถึงวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้แก่หมู่บ้าน

โครงการต่อมาของกลไกพลังงานสีเขียวที่บริษัทไทยออยล์ฯ ให้การสนับสนุนคือ โครงการ โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋วที่เรียกว่าพิโคไฮโดร (Pico Hydro) ขนาด 3 กิโลวัตต์ ณ หมู่บ้านเปียน ตำบลเทพ เสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางวิชาการหรือเทคนิคจาก ผอ. อนุชา อนันตศานต์ และเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยที่ชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจใน การก่อสร้างอาคารโรงไฟฟ้า และการปักเสาพาดสาย ซึ่งคณะฯ ได้เดินทางไปดูความก้าวหน้าของโครงการนี้ ด้วย โครงการได้เริ่มผลิตไฟฟ้าแล้วและอยู่ระหว่างเดินสายไฟฟ้าให้แก่ครัวเรือน และจะสามารถจ่ายไฟฟ้า ให้กับชาวบ้านรวม 12 ครัวเรือนได้ในไม่ช้านี้ ที่บ้านเปียนมีลำธารที่มีน้ำมากพอสมควร มีคลองเล็กๆ สำหรับ ดึงน้ำจากลำธารเพื่อนำไปใช้ในการปลูกข้าว ผอ. อนุชาฯ ได้นำน้ำจากคลองป้อนลงท่อเพื่อส่งลงไปที่เครื่อง กำเนิดไฟฟ้าที่ตั้งต่ำลงไปประมาณ 20 เมตร เครื่องกำเนิดไฟฟ้านี้ราคาไม่แพง เป็นเครื่องสำเร็จรูปของจีน และเนื่องจากไม่ต้องสร้างฝายเก็บกักน้ำ ค่าใช้จ่ายของโครงการจึงต่ำมาก คือไม่ถึง 100,000 บาท ซึ่งได้รวม ค่าใช้จ่ายสำหรับการต่อสายไฟฟ้าไปยังบ้านเรือนด้วยแล้ว แต่ละปีคาดว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 15,000 หน่วย เมื่อคำนวณต้นทุนการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าแล้ว พบว่าอยู่ในระดับไม่ถึง 1 บาทต่อหน่วยเท่านั้นเอง

ผมเชื่อว่า"กลไกพลังงานสีเขียว" จะช่วยให้มีการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนได้อย่างรวดเร็วมาก ยิ่งขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือและความสมัครใจของประชาชน ธุรกิจ และองค์กรที่มีความต้องการอย่างแท้จริง ที่จะเห็นการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น ข้อสรุปที่สำคัญอีกประการ หนึ่งจากโครงการเหล่านี้ก็คือ ในท้องที่ห่างไกลหลายแห่งในประเทศไทย ชาวบ้านไม่มีไฟฟ้าใช้หรือมีใช้แต่ไม่ พอ และวิธีการจัดหาไฟฟ้าหรือพลังงานนั้นมีวิธีการหลากหลาย ขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น เช่นน้ำ ชีว มวล เป็นต้น ซึ่งมีต้นทุนไม่สูงนัก ถ้าหาอะไรไม่ได้จริง จึงใช้แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นทางเลือกที่แพงที่สุดอย่าง ชัดเจน ผมอยากจะถือโอกาสนี้ขอเชิญชวนองค์กรภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจที่ตระหนักในการทำประโยชน์เพื่อ สังคม หยิบยื่นโอกาสในการช่วยพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสำหรับชุมชนในพื้นที่ห่างไกลที่ต้องการ หรือขาดแคลนด้านพลังงาน โดยร่วมสนับสนุนผ่านมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

Copyright © 2011 Energy For Environment Foundation. All right reserved.
No. 812/66 Soi Pracha Chuen 26, Pracha Chuen Road, Wong sawang, Babgsue, Bangkok 10800 Thailand.
Tel.+66 2115 5895  E-mail : jutamas.efe@gmail.com